พังผืดที่จอตา (Epiretinal membrane หรือ Macular pucker) ภาวะที่พังผืดชนิดที่ไม่มีหลอดเลือดเกิดขึ้นบริเวณบนชั้นผิวของจอตา อาจมีการขยายตัวดึงรั้งจอตาบริเวณใกล้เคียงโดย

เฉพาะจอตาส่วนกลางหรือจุดภาพชัด(Macular) จึงทำให้เห็นภาพผิดปกติ

 

ลักษณะของพังผืด เป็นแผ่นค่อนข้างใสหรือขุ่นมัวเล็กน้อย อาจไม่มีสีหรือมีสีจางๆเล็กน้อยอยู่บนผิวจอตาโดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียงกับ Macular ถ้าเกิดมีการหดตัวจะทำให้ผิวจอตา

บริเวณใกล้เคียงไม่เรียบ เกิดเป็นรอยย่นหรือเป็นจีบขึ้น เป็นสาเหตุทำให้การมองเห็นภาพผิด เพี้ยนไป

 

อาการพังผืดที่จอตา ในบางครั้งอาจจะไม่พบอาการผิดปกติใดในคนที่เป็นน้อยๆ แต่แพทย์ตรวจพบโดยบังเอิญหากขนาดของพังผืดใหญ่ขึ้นอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน คือมองเห็นภาพไม่ชัด

โดยเฉพาะบริเวณตรงกลางของภาพ อาจมีหรือไม่มีการมองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือรูปร่างของภาพที่เห็นผิดเพี้ยนไป

  • เห็นเส้นตาราง คด บิดเบี้ยว เป็นเส้นโค้งหรือเป็นขยุ้มตรงกลาง ในขณะที่ภาพด้านข้างปกติดี
  • บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยมีแสงแฟลช (Flash) ในตาเกิดเป็นบางครั้ง
  • บางรายอาจมีอาการจอตาหลุดลอกไปบางส่วน (Retinal detachment) บริเวณที่หลุดลอกจะส่งผลให้เห็นภาพบางจุดดูมืดไป
  • บางรายอาจมาด้วยมีเลือดออกที่ผิวจอตาตลอดจนเลือดออกเข้ามาในน้ำวุ้นตา
  • หรืออาจมาด้วยจอตาส่วนกลางขาดเป็นรู (Macular hole) ทำให้ตามัวลงอย่างฉับพลัน

 

การรักษาพังผืดที่จอตา

รักษาจะโดยวิธีผ่าตัดน้ำวุ้นตาร่วมกับการค่อยๆลอกพังผืดออกด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยภายใต้กล้องจุลทรรศน์ช่วยการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดมักได้ผลดี

ในบางรายสายตาอาจดีขึ้นหรืออย่างน้อยขจัดปัญหาที่พังผืดอาจดึงรั้งให้อตาหลุดลอกจนอาจทำให้ตาบอดได้ในที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่สายตาแม้ดีขึ้นบ้าง

แต่จะไม่กลับมาปกติ ประการสำคัญในผู้ที่รู้สาเหตุของการเกิด ต้องให้การรักษาต้นเหตุควบคู่กันไปด้วยเสมอเช่น การรักษาควบคุมโรคเอสแอลอีเป็นต้น

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://haamor.com/th